Current Duties
Courses
ICT Ideas
ICT Education
ICT Management
ICT Principles
ICT Standards
ICT Vocabulary
CMM / CMMI
Case Studies
General Articles
Presentations
Book Reviews
Buddhism
Personal Efficiency
Writing Guides
Research Guides
VIP
Q & A
Contacts
Archive
Seminars
คำแนะนำด้านการเรียน
ข้อสอบสนุก

 

Home
IT Idea for Spiritization

The Borrowed – หักเหลี่ยมคดีบาป มือปราบเฉือนคม
เฉินเฮ่าจี เขียน, ชาญ ธนประกอบ แปล
สำนักพิมพ์ Maxx Publishing, เมษายน ๒๕๖๐


            นิยายนักสืบเล่มนี้แปลมาจากนิยายชื่อ 13.67 เขียนโดย เฉินเฮ่าจี ผู้ซึ่งจบปริญญาตรีด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลัยฮ่องกง. เขาทำงานเป็นวิศวกรซอฟต์แวร์, นักเขียนบท, นักออกแบบเกม และ บก นิตยสารคอมมิค. ทุกวันนี้หนังสือนักสืบที่แต่งโดยนักเขียนจีนและแปลมาเป็นภาษาไทยยังมีน้อย. นั่นก็คงเป็นเพราะนักแปลภาษาจีนมีจำนวนน้อยกว่า ไม่ใช่เพราะหนังสือที่มีคุณภาพมีน้อย.

            หนังสือเล่มนี้เริ่มต้นด้วยเรื่องการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการสอบสวนแบบพิศดาร. นั่นคือใช้ระบบเชื่อมต่อประสาทกับกวนเจิ้นตั๋ว ปรมาจารย์นักสืบที่นอนรักษาตัวอยู่ในห้องไอซียู จากนั้นก็เชิญผู้ต้องสงสัยทั้งหมดมาให้ปากคำเพื่อให้ปรมาจารย์ให้ความเห็น. เรื่องทำนองนี้คงไม่มีนักเขียนคนใดเขียนได้ถ้าหากไม่มีความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ยุคใหม่. เรื่องเป็นอย่างไร ปรมาจารย์ระบุผู้กระทำผิดได้อย่างไรนั้น เป็นเรื่องที่จะต้องติดตามอ่านดูเอง.

            นิยายเรื่องนี้ไม่ได้มีเรื่องเดียวตามเนื้อหาที่เล่าไปแล้ว หากมีถึง ๖ เรื่องด้วยกัน. ทั้งหกเรื่องนั้นเปิดตัวนักสืบ ลั่วเสียวหมิง กับอาจารย์ กวนเจิ้นตั๋ว ที่กำลังเจ็บหนัก. ตามด้วยเรื่องที่ย้อนกลับไปถึงสมัยที่ลั่วเสียวหมิงเพิ่งเข้ารับตำแหน่งใหม่ๆ. จากนั้นเนื่อหาก็ร้อยเรียงไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเรื่องสุดท้ายก็ไปจบลงด้วยเรื่องของชายสองคนซึ่งจะย้อนกลับมปรากฏตัวเป็นเรื่องอีกครั้งในตอนที่หนึ่ง. ดังนั้นการอ่านนิยายนักสืบทั้งหกเรื่องนี้จึงต้องตั้งหลักความคิดให้ดี เพราะเวลาในเรื่องไม่ได้เรียงไปตามลำดับเหมือนนิยายนักสืบอื่นๆ.

            โดยทั่วไป ผู้เขียนได้ผูกเค้าโครงเรื่องได้แนบเนียน, ปล่อยพยานหลักฐานต่างๆเกี่ยวกับคดีออกมาตามลำดับและมีเหตุมีผล. ปัญหาสำหรับผู้อ่านคือการทำความเข้าใจกับระบบตำแหน่งในสำนักงานตำรวจซึ่งในเนื้อเรื่องเป็นช่วงเวลาตั้งแต่ก่อนที่อังกฤษจะส่งมอบฮ่องกงให้แก่จีน จนถึงช่วงที่ฮ่องกงกลายเป็นส่วนหนึ่งของจีนแล้ว. อีกปัญหาหนึ่งก็คือชื่อบุคคลในภาษาจีนที่เราไม่ค่อยคุ้นหูและจำยากสักหน่อย. แต่ประเด็นนี้ไม่น่ามีปัญหาอะไรสำหรับนักอ่านสิยายกำลังภายใน. อย่างไรก็ตาม ถ้าหากผู้อ่านคุ้นเคยกับสถานที่และชื่อถนนหลักๆ ของฮ่องกงแล้ว ก็คงจะได้อรรถรสมากขึ้นเพราะจะมองเห็นภาพการทำงานของตำรวจว่าเกิด ณ จุดใดบ้าง. ข้อที่น่าชมเชยก็คือ ผู้แปลได้เขียนเชิงอรรถอธิบายชื่อและเหตุการณ์หลายอย่างในเรื่องให้ผู้อ่านชาวไทยได้เข้าใจเนื้อหามากขึ้น.

            หนังสือนี้อาจจะหนาสักหน่อย คือมีกว่าห้าร้อยหน้า แต่ก็น่าจะหามาอ่านครับ เพราะนานๆทีจะได้อ่านนิยายนักสืบจีนที่เขียนโดยกลวิธีแบบแปลกๆอย่างนี้.

 

 

Back