Current Duties
Courses
ICT Ideas
ICT Education
ICT Management
ICT Principles
ICT Standards
ICT Vocabulary
CMM / CMMI
Case Studies
General Articles
Presentations
Book Reviews
Buddhism
Personal Efficiency
Writing Guides
Research Guides
VIP
Q & A
Contacts
Archive
Seminars
Seminars
Seminars
Seminars

       

 

Home
IT Idea for Spiritization

<< English >>

  • ราชบัณฑิต
  • ที่ปรึกษาคณะกรรมการ บริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนลจำกัด (มหาชน)
  • กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอซีอินโฟเทค จำกัด
  • กรรมการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติ
  • กรรมการบริหารสำนักงานเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
  • กรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ
  • กรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
  • กรรมการสภามหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • กรรมการสภาวิทยาลัยนอร์ทเชียงใหม่
  • กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ
  • ประธานอนุกรรมการตัดเลือกนักเรียนไทยไปแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิก
  • ตำแหน่งในอดีต

    ราชบัณฑิต

           ผมได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ ให้เป็นราชบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ ในสำนักวิทยาศาสตร์ ของราชบัณฑิตยสถาน ดังนั้นหน้าที่ของผม จึงต้องไปร่วมประชุมแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับด้านวิชาการ ในที่ประชุมราชบัณฑิต เป็นประจำทุกเดือนๆ ละ สองหน นอกจากนั้นก็มีหน้าที่ที่จะต้องเผยแพร่วิชาการให้แก่ประชาชนรับรู้ด้วย

           โดยทั่วไปคนรู้จักราชบัณฑิตยสถานว่าเป็นหน่วยงานที่จัดทำพจนานุกรมเท่านั้น แต่ที่จริงแล้วราชบัณฑิตยสถานมีหน้าที่มากกว่านั้น ใครสนใจควรเข้าไปดูในเว็บเอง

           สำหรับราชบัณฑิตนั้น ทุกคนเป็นนักวิชาการสูงอายุที่แต่เดิมสมัครเข้าเป็นภาคีสมาชิกของราชบัณฑิตยสถาน แล้วต่อมาจึงได้รับเลือกให้เป็นราชบัณฑิตในสาขาต่าง ๆ ปัจจุบันมีราชบัณฑิตอยู่เพียง 70 ท่าน แต่ละท่านล้วนเป็นราชบัณฑิตในสาขาที่ไม่ซ้ำกัน ราชบัณฑิตนั้นทำหน้าที่เสนอความเห็นอันเป็นประโยชน์ไปยังรัฐบาล แต่ก็ต้องแล้วแต่ว่ารัฐบาลจะถามความเห็นมาหรือไม่

           ในราชบัณฑิตยสถานนั้นผมทำหน้าที่เป็นประธานกรรมการบัญญัติศัพท์อยู่สองคณะคือ
    •  ศัพท์คอมพิวเตอร์
    •  ศัพท์เทคโนโลยีสารสนเทศ

           มีคนพูดอย่างสนุกสนานอยู่เสมอว่า คณะกรรมการบัญญัติศัพท์ที่ไม่ได้เรื่องออกมาให้ใช้ เช่นคำ software ก็บัญญัติว่า ละมุนภัณฑ์ แล้วก็ขยายต่อไปว่า hardware ก็บัญญัติว่า กระด้างภัณฑ์ ผมได้ฟังแล้วก็ได้แต่ปลง เพราะคนพูดบางคนเป็นนักวิทยาศาสตร์ แต่ไม่ได้มีความคิดแบบวิทยาศาสตร์ นั่นก็คือไม่ได้สอบสวนศึกษาเรื่องแท้จริงก่อนว่า คำศัพท์ที่บัญญัติจริง ๆ คืออะไร แม้แต่หนังสือศัพท์บัญญัติที่ทางราชบัณฑิตยสถานพิมพ์ก็ยังไม่มี เมื่อยังไม่ได้หาข้อมูลจนรู้ข้อเท็จจริงแล้วจะมาพูดวิจารณ์ได้อย่างไร ความจริงก็คือคณะกรรมการไม่เคยบัญญัติศัพท์แบบนี้เลย คนทั้งหลายได้แต่พูดต่อ ๆ กันไปเองไม่มีมูลเลย หลักฐานอยู่ในหนังสือศัพท์บัญญัติตั้งแต่ฉบับแรกจนถึงปัจจุบัน

    ดูรายละเอียดและเรื่องราวของราชบัณฑิตยสถานได้ที่ http://www.royin.go.th
    Back to Top


    ที่ปรึกษาคณะกรรมการ
    บริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)

           ผมเข้ามารับตำแหน่งงานเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการบริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) เมื่อต้นปี 2545 นักไอที นักศึกษา และ ท่านผู้อ่านหลายคนไม่รู้จักบริษัทนี้ ขออธิบายสั้น ๆ ว่าบริษัทนี้เป็นบริษัทขนาดใหญ่มีบริษัทในเครือหลายสิบบริษัท หน้าที่หลักก็คือขายสินค้าประเภทเสื้อผ้า เครื่องสำอาง เครื่องซักล้าง ฯลฯ ผ่านห้างสรรพสินค้าทั้งใหญ่และเล็กในประเทศ สินค้าที่ท่านอาจจะรู้จักดีก็คือ เสื้อเชิตแอร์โรว์ ชุดชั้นในสุภาพสตรีวาโก้ เครื่องสำอางเพียซ สินค้าติดตรา bsc เสื้อผ้าเด็ก Enfant เสื้อตราจรเข้ Lacoste เสื้อผ้าสุภาพสตรี Itokin และอื่น ๆ อีกมาก บริษัทไอ.ซี.ซี. และ บริษัทในเครือใช้ไอซีทีอย่างกว้างขวางและก้าวหน้าไม่แพ้บริษัทอื่นครับ ผู้สนใจอาจเข้าไปเยี่ยมชมศึกษารายละเอียดได้ที่ www.icc.co.th สำหรับผู้สนใจสั่งซื้อสินค้าของบริษัทผ่านเว็บ อาจเข้าไปสมัครเป็นสมาชิกและซื้อสินค้าได้ที่ www.belle-maison.co.th ครับ
    Back to Top


    กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอซีอินโฟเทค จำกัด
    Back to Top


    กรรมการในคณะกรรมการไอซีทีแห่งชาติ

           เมื่อสมัยที่มีแต่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมนั้น ศูนย์เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นผู้ดำเนินการส่งเสริมและผลักดันงานด้านไอที และได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ หรือ NITC คณะกรรมการนี้มีท่านนายกรัฐมนตรีเป็นประธานและท่านนายกฯ ในรัฐบาลแต่ละชุดก็มักจะมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีท่านใดท่านหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธานแทน

    ผมได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน NITC มาหลายปีแล้ว และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการบริหารงานไอซีทีจนเกิดเป็นกระทรวงไอซีที และ มีการแต่งตั้งกรรมการ ICT แห่งชาติชุดใหม่แล้ว ผมก็ยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้วย ผลงานจะเป็นอย่างไรคงจะมีโอกาสนำมาเล่าสู่กันฟังต่อไป ในช่วงนี้เป็นที่น่าเสียดายที่การถ่ายโอนงานจากเนคเทคไปยังกระทรวงไอซีทียังไม่เรียบร้อย งานส่วนใหญ่จึงยังไม่เดินหน้าเท่าที่หลายคนอยากเห็น ขณะนี้หากใครสนใจขอให้ดูรายละเอียดได้ที่เว็บ www.nitc.go.th ไปก่อน
    Back to Top


    กรรมการบริหารสำนักงานเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ

          เมื่อสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติเปลี่ยนแปลงจากการอยู่ใต้สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ไปสังกัดกับนายกรัฐมนตรีนั้น ได้มีการพิจารณาย้ายกองดาวเทียมออกจากสำนักงานมาจัดตั้งเป็นสำนัก งานมหาชนโดยอาศัยพระราชบัญญัติองค์การมหาชนเป็นแนวทางในการดำเนินงาน

          เมื่อมีการจัดตั้งแล้วผมได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะ กรรมการบริหารของสำนักงานซึ่งมีชื่อเรียกย่อ ๆ ว่า สทอภ. หรือ Gistda ประธานกรรมการคือ ดร. วิชา จิวาลัย อดีต รองผู้ว่าการ กทม. สมัยที่ผู้ว่าการคือพลตรี จำลอง ศรีเมือง ส่วนผู้อำนวยการ สทอภ. คือ ดร. สุวิทย์ วิบูลย์เศรษฐ์ อดีตรองปลัดกระทรวงวิทย์ฯ

    การเปลี่ยนแปลงนี้น่าสนใจมาก และมีเรื่องต่าง ๆ มากมายที่น่าศึกษามาก ใครสนใจรายละเอียดของสำนักงานนี้อาจศึกษาได้จากเว็บ www.gistda.or.th
    Back to Top


    กรรมการบริหาร SIPA

           SIPA ย่อมาจาก Software Industry Promotion Agency มีชื่อเรียกเป็นภาษาไทยว่า สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นองค์การมหาชน ได้รับการจัดตั้งตามพระราชกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2546 และได้มีประกาศแต่งตั้งประธานกรรมการ และ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหาร SIPA เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2546 โดยมีคุณเครือวัลย์ สมณะ เป็นประธานกรรมการ และ ผมร่วมเป็นกรรมการบริหารด้วยคนหนึ่ง ดูรายละเอียดได้ใน SIPA
    Back to Top


    กรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

    ประเทศไทยได้ตราพระราชบัญญัติธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ออกบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2544 ตามพรบ. นี้จะต้องแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดำเนินการร่างกฎระเบียบต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการบังคับใช้กฎหมายนี้ แต่การแต่งตั้งก็ล่าช้ามาจนถึงวันที่ 23 กันยายน 2546 จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการชุดนี้ขึ้น ผมได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ภาคเอกชน

    หน้าที่ของคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ มีดังนี้ เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อวางนโยบายการส่งเสริมและพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนการแก้ปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวข้อง

    1. เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อวางนโยบายการส่งเสริมและพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนการแก้ปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวข้อง
    2. ติดตามดูแลการประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
    3. เสนอแนะหรือให้คำปรึกษาต่อรัฐมนตรีเพื่อการตราพระราชกฤษฎีกา
    4. ออกระเบียบหรือประกาศเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย
    5. ปฏิบัติการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์หรือกฎหมายอื่น
    Back to Top