IT Idea for Spiritization
การจัดการศูนย์คอมพิวเตอร์ - Computer Center Management
ต้อนรับแนะนำการใช้เว็บวัตถุประสงค์ของวิชาแผนการสอนตำราและหนังสือการคิดคะแนนสอบ
แนวทางการทำข้อสอบแนวทางการเขียนรายงานคำบรรยายรายชื่อนักศึกษาReading Materials
Discusstion ForumLinksQuestionCase Studies

Case Studies

สัมภาษณ์ CIO - พลโท ชัยศึก เกตุทัต
สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

เช้าวันที่ 13 ของเดือนพฤษภาคม เรามีนัดสัมภาษณ์ พลโท ชัยศึก เกตุทัต ในฐานะที่ท่านเป็น CIO สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม แน่นอน หัวข้อของการสนทนาย่อมหนีไม่พ้นเรื่องของไอที เพียงแต่เป็นไอทีของกระทรวงกลาโหม ซึ่งไม่บ่อยนักที่เราจะทราบข้อมูลส่วนนี้ นอกจากนั้นการสนทนายังครอบคลุมไปยังทัศนะของท่านต่อไอทีในประเทศไทย ต่อการทำงานของกองทัพ เนื้อหาสาระน่าสนใจประการใด ขอเชิญติดตามได้เลยค่ะ

ทำไมไอทีไทยไม่พัฒนา

ผมมองว่าประเทศไทย ซึ่งยังจัดอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา ถ้านำความเจริญด้านต่างๆ มาเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น อเมริกา เราคงจะล้าหลังอยู่หลายอย่าง รวมทั้งด้านไอทีด้วย ส่วนสาเหตุนั้น น่าจะมาจากประชาชนหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องเป็นหลัก ในประเทศที่พัฒนาแล้วจะสังเกตุได้ว่าประชาชนของจะมีระเบียบ วินัยมากกว่า มีความรับผิดชอบสูงว่า นิยมการศึกษาเรียนรู้และเหตุผลที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ก็คือ ระบบการเมืองที่มั่นคง อันจะส่งผลให้การปฏิบัติตามนโยบายเป็นไปอย่สงต่อเนื่อง

วิสัยทัศน์กลาโหม VS แผนแม่บทไอทีกองทัพ

การกำหนดวิสัยทัศน์ของกระทรวงกลาโหม เริ่มจากการวิเคราะห์ภารกิจตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งได้กำหนดหน้าที่ 7 ประการ อาทิเช่น การป้องกันรักษาเอกราชแห่งชาติ การรักษาความสงบเรียบร้อย เป็นต้น ในการจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนตามภารกิจ ก็คือ การป้องกันประเทศชาติ ในอนาคตต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยทั้งเรื่องยุทธการ การสนับสนุนและการบริหารงานภายใน ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในเรื่องของการจัดทำแผนแม่บทฯ เราได้แบ่งขอบเขตความรับผิดชอบ โดยให้แต่ละหน่วยงานไปจัดทำแผนแม่บทฯ ของตนเอง แล้วรวบรวมขึ้นมาเป็น แผนแม่บทฯ ระดับกรม หลังจากนั้น จึงได้รวบรวมแผนแม่บทฯ ระดับกรม ขึ้นมาเป็นแผนแม่บทฯ ของกระทรวง โดยมีคณะกรรมการค้านเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานนั้นๆ เป็นผู้รับผิดชอบ ขณะนี้ แผนแม่บทฯ ในส่วนของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ที่ผมรับผิดชอบอยู่ ได้จัดทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยมิได้ใช้งบประมาณของทางราชการแต่อย่างใด ขณะเดียวกัน แผนแม่บทฯ ของ บก.ทหารสูงสุดและเหล่าทัพ ก็คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน มิ.ย นี้ หลังจากนั้น คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศกระทรวงกลาโหม ก็จะได้นำข้อมูลจากแผนแม่บทฯ ของหน่วยต่างๆ มาผสมผสานกับวิสัยทัศน์ นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศกระทรวงกลาโหม และความต้องการด้านสารสนเทศจากผู้บังคับบัญชาระดับสูง มาจัดทำแผนแม่บทฯ ระดับกระทรวงต่อไป ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน ส.ค. นี้

หลักการที่สำคัญประการหนึ่งในการจัดทำแผนแม่บทฯ ของกระทรวง ก็คือ การจัดทำระบบสารสนเทศ ที่เป็นของส่วนรวม ไม่ว่าจะเป็น ฮาร์ดแวร์ ซอท์ฟแวร์ หรือการเชื่อมโยงก็ตาม ระบบใดก็ตามที่สามารถใช้งานร่วมกันได้ทั้งกระทรวง เราก็จะพัฒนาและให้ใช้เหมือนกัน เช่น ระบบงานกำลังพล ระบบงานธุรการและสารบรรณ ทั้งนี้ เพื่อลดการทำงานที่ซ้ำซ้อน เพื่อจะได้เป็นมาตรฐานเดียวกันเชื่อมโยงกันได้ และที่สำคัญที่สุดก็คือ การประหยัดงบประมาณแผ่นดิน

ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการพัฒนาไอทีในกระทรวง

ความมุ่งมั่นที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ผมมีคติพจน์ที่ว่า “ทุกปัญหามีทางออก” ถ้าทุกฝ่ายถือคติเดียวกัน มุ่งมั่น พร้อมใจ ที่จะแก้ปัญหา โดยมีจุดร่วมกันอยู่ที่ความสำเร็จแล้ว งานทุกอย่างก็จะบรรลุเป้าหมายได้ทั้งนั้น งานด้าน IT มันมีความยุ่งยาก สลับซับซ้อนอยู่ในตัว จึงต้องการความมุ่งมั่นที่สูงกว่าปกติ การประชุม ปรึกษา หารือร่วมกันบ่อยๆ ก็นับว่าเป็นทางออกที่ดี ซึ่งในกระทรวง ก็ได้มีการดำเนินการอยู่ตลอดเวลา ตัวอย่างเช่น ก่อนการลงมือจัดทำแผนแม่บทฯ ก็ได้เชิญคณะกรรมการและผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมหลายครั้ง หลังจากจัดทำร่างแผนแม่บทฯ ก็ได้เชิญประชุม เพื่อร่วมกันพิจารณาปรับแก้ไขอีก จนกว่าจะได้แผนแม่บทฯ ฉบับของจริง

ด้านงบประมาณ
การได้รับงบประมาณอย่างพอเพียงและต่อเนื่อง ถือได้ว่าเป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ในการดำเนินการแผนงานหรือโครงการ ให้เป็นรูปธรรม

ในเร็วๆ นี้จะมีการประชุมคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศกระทรวงกลาโหม ซึ่งมีปลัดกระทรวงกลาโหมเป็นประธาน และคณะกรรมการก็ประกอบไปด้วย CIO เหล่าทัพ ที่แต่งตั้งจากเลขาธิการทุกเหล่าทัพ คงจะให้ความสำคัญในด้านงบประมาณเพื่อการพัฒนา IT เป็นเรื่องใหญ่กับหมายความว่านับแต่นี้ต่อไป กระทรวงกลาโหมก็คงจะเป็นกระทรวงชั้นแนวหน้า กระทรวงหนึ่งของประเทศที่นำไอทีมาประยุกต์ใช้อย่างจริงจัง

ด้านบุคลกร
ความจริงในกระทรวง มีบุคลากรที่สำเร็จการศึกษาด้านไอทีโดยตรง มีจำนวนนับพันคนยังไม่รวมผู้ที่จบสาขาอื่นๆ แล้วหันมาทุ่มเทเรื่องไอทีอีกจำนวนมาก กระทรวงมีความจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรกลุ่มนี้ ให้มีความเชี่ยวชาญเพิ่มขึ้นอีก ขณะเดียวกันก็ยังต้องพัมนากำลังพลทุกระดับให้สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ได้อย่างคล่องแคล่ว อาทิเช่น ศูนย์พัฒนากิจการอวกาศกลาโหมได้เปิดการอบรมหลายรุ่น โดยไม่ได้ใช้งบประมาณใดๆ ของราชการเลย ในการอบรมรุ่นแรก เริ่มตั้งแต่การเชิญผู้บริหารระดับสูงเข้ารับการอบรม โดยเชิญวิทยากรผู้มีชื่อเสียงมาบรรยาย เช่น ฯพณฯ สุวิทย์ คุณกิตติ, ศ.ดร. ไพรัช ธัชยพงศ์, ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ซึ่งสร้างความพอใจให้กับผู้เข้ารับการอบรมทุกท่าน ต่อมาจึงจัดให้มีการอบรมในระดับกลาง คือ ผู้อำนวยการกองและผู้ปฏิบัติการตามลำดับ จวบจนกระทั่งมีการอบรมผ่านไปแล้วถึง 2 ปี เราสามารถผลิตบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศออกมาเป็นจำนวนมาก

กระทรวงกลาโหมมีการตื่นตัวในเรื่องบุคลากรค่อนข้างมาก เช่น บก.สูงสุดได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยส่งนายทหารเข้าศึกษาหลักสูตรปริญญาโททางเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัยมาหลายปีแล้ว เพราะฉะนั้น จึงนับได้ว่า ทางกระทรวงกลาโหมได้มีการเตรียมตัวมานานพอสมควร ด้านทรัพยากรบุคคล แต่ก็ยังคงไม่พอใจ ยังต้องดการให้มีการเพิ่มปริมาณและคุณภาพขึ้นเรื่อยๆ เพราะบางกรณีควรมีเจ้าหน้าที่ ที่มีความเชี่ยวชาญด้านไอทีโดยเฉพาะ

การนำไอทีมาใช้ในสำนักปลัดกระทรวงกลาโหม

ปัจจุบันศูนย์พัฒนากิจการอวกาศกลาโหม เป็นหน่วยงานหลักของกระทรวงที่เป็นผู้เสนอนโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของกระทรวง รวมทั้งการกำหนดมาตรการต่างๆ ในฐานะที่เป็นสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศกระทรวงกลาโหม ขณะเดียวกันก็เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ ทั้งกำหนดนโยบาย กำกับดูแลในภาคปฏิบัติ และเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงเครือข่ายของหน่วยงานภายในสำนักงานปลัดกระทรวงทั้งหมด ในการนี้ เราจึงจำเป็นต้องเป็นหน่วยงานตัวอย่างที่นำไอทีมาใช้ภายในให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขั้นต้น เราได้เริ่มสร้างแบบจำลองของการใช้งานระบบเครือข่าย โดยเริ่มจากระบบง่ายๆ ก่อน ก็คือ การนำระบบ Office Automation มาประยุกต์ใช้เพื่อการศึกษาดูความเหมาะสม ศึกษาปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่อาจจะมีขึ้นก่อนที่เราจะเริ่มทำโครงการเครือข่ายเชื่อมโยงหลายๆ หน่วยงานเข้าด้วยกันในปลายปีนี้

เคล็ด (ไม่) ลับในการทำงาน

ในการทำงาน โดยเฉพาะในฐานะผู้เสนอนโยบาย ผมคิดว่าควรจะ

  • ต้องประชุมคณะกรรมการ ฯ เพื่อหามาตรการในการแก้ไขปัญหา อุปสรรค อย่างสม่ำเสมอ
  • ต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล เพื่อการบริหารงานภายในหน่วยงานของตน
  • ต้องกำหนดรูปแบบที่เป็นมาตรฐานเพื่อการใช้ประโยชน์ร่วมกัน
  • ต้องมีการประสานงานทั้งในระดับสูงและระดับปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ