IT Idea for Spiritization
การจัดการศูนย์คอมพิวเตอร์ - Computer Center Management
ต้อนรับแนะนำการใช้เว็บวัตถุประสงค์ของวิชาแผนการสอนตำราและหนังสือการคิดคะแนนสอบ
แนวทางการทำข้อสอบแนวทางการเขียนรายงานคำบรรยายรายชื่อนักศึกษาReading Materials
Discusstion ForumLinksQuestionCase Studies

Case Studies

สัมภาษณ์ CIO - ดร. พนม พงษ์ไพบูลย์
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

กองบรรณาธิการ CIO Newsletter ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ ท่านพนม พงษ์ไพบูลย์ รองปลัดและ CIO ของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2542 โดยได้ซักถามเกี่ยวกับไอทีของกระทรวงศึกษาฯ ไม่ว่าจะเป็นแผนแม่บทไอที, เครือข่าย (Network), อุปสรรคและการแก้ปัญหาต่างๆ ของกระทรวงศึกษาธิการที่น่าสนใจและจะเป็นประโยชน์แก่ CIO และผู้อ่านทุกท่าน

ความคิดเห็นต่อ “ตำแหน่ง CIO”

CIO หมายถึงผู้ที่ต้องดูแลระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกระทรวงในภาพรวมทั้งหมด ซึ่งเดิมเป็นหน้าที่ปกติที่ผมต้องปฏิบัติอยู่ก่อนจะมีการตั้ง CIO ขึ้นมาอย่างเป็นทางการ จึงไม่ค่อยรู้สึกอะไรมากนัก เนื่องจากเป็นรองปลัดฝ่ายนโยบายแผนและดูแลสำนักงานปลัดทั้งหมด รวมทั้งมีศูนย์สารสนเทศอยู่ที่นี่ด้วย จึงเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศมาโดยตลอด นอกจากนี้ยังเป็นเรื่องที่ผมสนใจมาตั้งแต่ตอนเรียนหนังสือคือการเรียนที่จะนำเอาคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้กับการศึกษา

แต่การกำหนดให้มี CIO ในส่วนราชการขึ้นนับเป็นนิมิตรหมายอันดีเพราะมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ ที่ชัดเจนกว่าเมื่อก่อนมาก ทำให้ต้องคิดวางแผนการทำงานเตรียมการ ประสานงานและเข้าใจบทบาทหน้าที่ที่ต้องดูแลทั้งกระทรวง เพราะแต่เดิมนั้นในการคิดแผนฯ จะเป็นลักษณะต่างคนต่างทำ ซึ่งมีประเด็นที่ต้องขบคิดต่อไปว่าทำอย่างไรจึงจะมีการสร้างระบบที่เชื่อมโยงกันประสานและสนับสนุนไปในทิศทางเดียวกัน ในลักษณะเกื้อหนุนกัน ดังนั้นเมื่อมี CIO เกิดขึ้น เราจึงมีช่องทางดำเนินการในการสร้างรูปแบบที่ชัดเจน

ในอนาคต ควรกำหนดตำแหน่ง CIO หรือไม่นั้น ผมคิดว่าเพียงพอแล้ว เพราะหากต้องมี รองปลัดฯ หรือรองอธิบดีที่ทำหน้าที่เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศเพียงอย่างเดียวนั้น โครงสร้างระบบราชการคงไม่เอื้ออำนวยขนาดนั้น ผมคิดว่าที่กระทรวงศึกษาธิการให้ผมซึ่งรับผิดชอบในส่วนของนโยบายและแผนเป็น CIO นั้นถูกต้องแล้วเพราะเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) และเรื่องของแผนเป็นเรื่องเดียวกัน ซึ่งถ้าได้อยู่ด้วยกันก็จะสอดประสานกันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระบบ MIS จะมีประโยชน์ในการทำแผนทางการบริหารจัดการ, งบประมาณเพราะจะสอดคล้องกันเป็นอย่างมาก

วิสัยทัศน์ของกระทรวงศึกษาธิการ VS แผนแม่บทไอทีกระทรวงฯ

แผนแม่บทไอทีกระทรวงฯ ที่ทำได้เสร็จในระยะเวลาอันรวดเร็วไม่ใช่เรื่องที่แปลก เพราะเป็นสิ่งที่คิดกันมานานแล้ว แผนไอทีของกระทรวงกรอบใหญ่นั้น มีการคิดก่อนมีการก่อตั้ง CIO เสียอีก นอกจากนี้วิสัยทัศน์ของเรามองว่าเห็นความสำคัญและความก้าวหน้าของไอทีและการใช้ไอทีเพื่อการศึกษานั้นเป็นเรื่องสำคัญ วิสัยทัศน์ของเราจึงไม่ต่างจากประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านไอที แต่ไม่สามารถไปไกลขนาดมี Internet ทุกโรงเรียน เพราะสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน จึงมามองที่ระบบเครือข่ายใหญ่ที่จะเชื่อมโยงระบบการศึกษาเข้าด้วยกันเป็นสำคัญ เราคิดว่าถ้าสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันได้แล้ว ไอทีจะช่วยจัดการเรียนการสอนได้กว้างขวางและโรงเรียนจะไม่มีความแตกต่างกัน โดยมีความสนใจในการใช้ไอทีในการประยุกต์ใช้เพื่อการเรียนการสอนพอสมควร

CAI : หัวใจของการศึกษาในยุคไอที

CAI : Computer Aided Instruction คือบทเรียนสำเร็จรูปที่สร้างขึ้นมาโดยผ่านระบบคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ ในกรณีที่โรงเรียนต่างๆ สามารถเชื่อมโยงกันได้ ในอนาคตผมคิดว่าควรนำมาบรรจุใน Server กลาง และทุกโรงเรียนสามารถเรียกไปใช้งานตามที่ต้องการได้ ซึ่งต่อไปในอนาคต CAI จะมีบทบาทในการปฏิวัติระบบการเรียนการสอนของประเทศ รวมทั้งของโลกด้วย คุณสมบัติสำคัญของ CAI คือ สามารถจำลองสถานการณ์ได้ดี ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายและปลอดภัยจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดหรืออุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ เป็นการเรียนแบบ Simulation สามารถจำลองโลกทั้งโลกมาอยู่ในคอมพิวเตอร์ได้

ถ้ามีระบบเครือข่าย (Network) การนำ CAI ไปใช้ในโรงเรียนจะไม่ยาก การพัฒนา CAI ตามโรงเรียนในปัจจุบันมีการพัฒนาพอสมควร แต่มีอยู่อย่างกระจัดกระจาย ที่สำคัญคือมี CAI มาตรฐานของต่างประเทศที่มีขายมากมายซึ่งสามารถซื้อมาเป็นตัวอย่างได้ ดังนั้นหากมีระบบใหญ่แล้วการพัฒนา Software ก็จะง่ายขึ้น ปกติจะใช้ในรูปแบบของ Power point แต่ก็มีการพลิกแพลงอยู่บ้างแล้ว แต่สิ่งที่ยังขาด คือ การแลกเปลี่ยนระหว่างกัน โดยสร้างแหล่งความรู้กลาง (CAI Center) และพัฒนาในการที่จะให้ครูมาสืบค้นประกอบการสอน

ดังนั้นกระทรวงฯ จึงวางแผนสร้างเครือข่าย (Network) เพื่อประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนเป็นอันดับแรก ต่อมาจึงจะถ่ายทอดเทคโนโลยีจากส่วนกลางไปสู่โรงเรียนต่างๆ รวมถึงระบบบริหาร ระบบต่างๆ ก็จะมารวมอยู่ในโรงเรียนเดียวกันด้วย

หัวใจของการพัฒนาไอทีทั่วโลก คือ การที่จะทำให้ประเทศตามไอทีทันและพัฒนาไอทีรวมทั้งการใช้ไอทีเพื่อเป็นประโยชน์ได้นั้น จุดเริ่มต้นต้องอยู่ที่โรงเรียน จึงต้องมีการประสานความร่วมมือกันเพื่อผลักดันให้เป็นผลสำเร็จ

ความสำคัญของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของโรงเรียน (School Network)

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์โรงเรียนจะเกิดขึ้นและใช้ได้เร็วช้าแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่ที่ระบบแม่ข่าย Internet ว่าจะเข้าถึงพื้นที่นั้นๆ มากน้อยแค่ไหนและค่าใช้จ่ายเป็นอย่างไร ในส่วนของเครือข่าย

SchooNet ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ นั้น หากเข้าถึงได้ โรงเรียนก็พร้อมที่จะเข้ามามีส่วนร่วมเพราะการที่ครูจะเรียนรู้ Internet คงจะใช้เวลาไม่นาน และต้องฝึกฝนไปเรื่อยๆ จนเกิดความชำนาญ จากนั้นจึงขยายผลเพื่อสอนนักเรียนของตนต่อไป

ผมเห็นว่าในขณะนี้ โรงเรียนที่มี Internet ไม่ได้มาจากที่เดียวกันทั้งหมด ซึ่งบางโรงเรียนก็ใช้ net อื่นๆ เพราะรอกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เพียงอย่างเดียวไม่ได้ หรือไม่ใช่ Priority ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ในกรุงเทพฯ หลายโรงเรียนเข้า MOE Net ของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเราก็ไม่สามารถให้บริการได้ทั้งหมด นอกจากนี้หลายโรงเรียนที่ต่างจังหวัดก็จะใช้ net ของมหาวิทยาลัยใกล้เคียง เพราะไม่เสียค่าใช้จ่าย บางแห่งก็ลงเป็น net ของเอกชน จึงมีลักษณะกระจายเป็นกลุ่มๆ

ในขณะนี้ ต้องการพัฒนาระบบให้ใหญ่ขึ้น ถ้าเรามี net ของกระทรวงศึกษาธิการได้เองและเชื่อมโยงหน่วยงานการศึกษาเข้ามาด้วยกัน ข้อมูลก็จะ Flow ออกจากส่วนกลาง อาทิ CAI และสามารถถ่ายทอดไปได้ ในขณะเดียวกันข้อมูลจากระดับล่างก็จะเข้ามาที่ส่วนกลางได้เช่นเดียวกัน ซึ่งจะสรุปได้ว่า ความคิดเรามีมานานแล้วและพยายามรวบรวมความคิดปรับปรุงมาเรื่อยๆ เมื่อจังหวะที่ต้องมีแผนไอทีเราก็สามารถนำมาใช้ได้เลยโดยประสานร่วมกับกรมต่างๆ เป็นแผนใหญ่ สิ่งที่เป็นห่วงคือทำอย่างไร แผนฯ ไอทีจะสามารถ Implement ได้

ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการโครงการไอที

กระทรวงศึกษาฯ ไม่สามารถจะผลักดันแผนไอทีไปสู่การปฏิบัติได้ เพราะหัวใจของแผนแม่บทไอทีฯ อยู่ที่เครื่องมือ แต่มักติดขัดในการของบประมาณ ในทางปฏิบัติ การพัฒนาไอทีต้องมีการพัฒนาคนควบคู่ไปพร้อมๆ กับการมีเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ การที่จะได้มาซึ่งตัวระบบช้าและไม่ทันการณ์ จึงฝากเนคเทคและกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เร่งผลักดันแผนแม่บทไอทีฯ โดยมีข้อเสนอ คือ การมีแผนแม่บทไอทีฯ ในลักษณะแผนพัฒนาที่กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน เพื่อให้ไปสู่ภาพรวม และทำแผนปฏิบัติการที่จะไปให้ถึงเป้าหมาย โดยกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน โดยดูแลให้ถึงเป้าหมายด้วย ในการนี้จะต้องมีกระบวนการ และความพยายามให้รัฐบาลเห็นความสำคัญและสนับสนุน แต่ในปัจจุบันเรายังขาดกลไกในการสนับสนุนอยู่

กรณีของ Model Office ก็เช่นกัน คือ จะมีปัญหาในการจัดซื้อจัดหาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้ได้อย่างทั่วถึง ทำให้มีความจำเป็นต้องใช้กระดาษจึงไม่สามารถเป็น Paperless ได้ ดังนั้นจึงต้องมีแผนแม่บทไอทีฯ และมีเป้าหมายที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น ซึ่งก็ต้องมีกระบวนการสนับสนุนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

โครงการที่มี Piority สูงสุดตามแผนของกระทรวงศึกษาธิการ

คือการสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์โรงเรียนของกระทรวงศึกษาธิการให้แพร่ขยายและครอบคลุม แต่จะมีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายที่ครูและนักเรียนต้องเสียค่าใช้จ่ายในการใช้บริการ

(ร่าง) พ.ร.บ. การศึกษาฯ กับไอที

แนวคิดหลักของ (ร่าง) พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติฯ ที่เกี่ยวกับไอที คือ เรื่อง “คลื่นความถี่สื่อตัวนำ” ที่จะให้มีการระดมทุน เพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจากเงินอุดหนุนของรัฐ ค่าสัมปทาน และผลกำไรที่ได้จากการดำเนินกิจการด้านสื่อมวลชนเทคโนโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและองค์กรประชาชน รวมทั้งให้มีการลดอัตราค่าบริการเป็นพิเศษในการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อพัฒนาคนและสังคม หลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินกองทุนเพื่อการผลิต การวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ขณะนี้ (ร่าง) พ.ร.บ.ฯ ได้ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี และรอการลงพระปรมาภิไธย ซึ่งหลังจากประกาศใช้แล้ว ต่อไปกระทรวงศึกษาฯ จะออกกฎกระทรวง เพื่อพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของทั้งประเทศ โดยมีรายได้ส่วนหนึ่งมาจากผู้ที่ทำธุรกิจบนคลื่นความถี่สื่อตัวนำ ซึ่งต่างประเทศก็ใช้วิธีนี้ เพื่อให้มีเงินทุนสำหรับพัฒนาการศึกษาของประเทศ รวมทั้งต้องลดอัตราค่าบริการโครงสร้างพื้นฐานให้เป็นอัตราพิเศษหรือฟรีสำหรับภาคการศึกษา ซึ่งผมมองว่าเป็นเรื่องจำเป็นมาก

แผนแม่บทไอทีฯ กับ (ร่าง) พ.ร.บ. การศึกษาฯ เสริมกันมากเพียงใด

(ร่าง) พ.ร.บ. การศึกษาฯ เป็นการวางกรอบกว้างๆ ของการให้มีเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา นอกจากนี้ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจะกว้างกว่าและมีนอกเหนือจากไอทีมากมาย อาทิเช่น หนังสือ อุปกรณ์ทดลอง ฯลฯ ส่วนแผนแม่บทไอทีฯ จะมีรายละเอียดของความคิดที่จะนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อการศึกษาอย่างไรบ้าง คิดในเชิงของ Information Technology เท่านั้น

ข้อเสนอแนะ

ขอชมเชยกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ที่มีความคิดเรื่อง CIO นับเป็นสิ่งที่ดีแล้วและควรผลักดันให้เข้มแข็งต่อไปโดยผมยินดีจะให้ความร่วมมือในการประสานงานต่อไป